ความรู้ทั่วไป

การดูแลเท้า 2

โดย แพทย์หญิงจุลี จตุวรพัฒน์ – 2016-12-20 17:35:36 – หมวดความรู้ทั่วไ

เล็บล่ะสำคัญอย่างไร
เล็บเป็นอวัยวะหนึ่งที่ใช้ป้องกันตัว ทำให้ปลายนิ้วแข็งแรงขึ้น หยิบจับอะไรได้ถนัดและมั่นคง และเล็บสามารถบอกอะไรกับแพทย์ได้หลายอย่างเช่นกัน เช่น
    เล็บซีด          พบในโรคโลหิตจาง
    เล็บเหลือง    มักมาจากสารเคมี เช่น คนสูบบุหรี่จัด
    เล็บเป็นสีขาวเป็นขุยๆ  จากการเป็นเชื้อราที่เล็บ อาจมีเบาหวานซ่อนอยู่
เล็บเปราะ หักง่าย    ขาดวิตามิน

เล็บในผู้เป็นเบาหวานเป็นสาเหตุของการถูกตัดนิ้วซะก็มากถ้าไม่ดูแลให้ดี โดยเฉพาะบริเวณมุมเล็บ

ตัวอย่าง
    ผู้เป็นเบาหวานและควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี หลายปีมากเข้าจะมีเบาหวานขึ้นตา ทำให้ตาฝ้าฟาง มองไม่ชัด เดินชนอะไรไม่รู้สึกเจ็บ เกิดแผลอักเสบเป็นหนองก็ยังไม่เจ็บ บุตรสาวที่ดูแลพบความผิดปกติดังรูป ก.จึงพามาพบแพทย์ ปรากฏว่าเป็นฝีที่มุมเล็บ กินลึกถึงกระดูกปลายนิ้ว ต้องรักษาอีก 8เดือนเนื่องจากมีติดเชื้อ ต้องฉีดยาเข้าหลอดเลือด มีภาวะไตวายทำให้แผลติดเชื้อหายยาก มีหลอดเลือดที่ขาตีบ เลือดมาไม่พอ

รูป ก. แผลเริ่มแรก

รูป ข. แผลหลังถอดเล็บ

รูป ค. แผลลามลึกถึงกระดูก เนื่องจากเลือดมาเลี้ยงไม่พอ
จึงต้องรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

รูป ง. แผลหลังจากรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง 50 ครั้ง

รูป จ. 2 เดือน หลังการรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง และเนื้อเยื่อพันธุวิศวกรรม

รายที่2
เท้าชาเดินไปตลาดไม่แน่ใจว่าเดินชนอะไร รู้สึกว่ามีน้ำอะไรเหนียวเลอะที่เท้าทั้ง 2 ข้าง กลับถึงบ้านหลานทัก “ยายๆ ทำไมมีเลือดที่นิ้ว” จึงได้ทราบว่ามีแผลที่นิ้วโป้ง เนื่องจากเกรงใจสามีและลูกที่ต้องมาดูแล ใช้ผงชูชีพโรค แผลแห้งดี ไม่เจ็บ แต่หลังเท้าบวมขึ้นและมีกลิ่นเหม็นจากแผล จึงมาพบแพทย์

เล็บผิดรูปจากการทำเล็บโดยตัดแซะมุมเล็บ

เกิดติดเชื้อที่มุมเล็บ

จะดูแลเล็บอย่างไรดี

เช่นเดียวกับการดูแลเท้า ทำไปพร้อมๆกัน การดูแลความสะอาดเล็บ ไม่ควรใช้อะไรมาขัดถู อาจจะใช้แปลงขนอ่อนๆ ดูซอกมุมเล็บเบาๆได้ ไม่ควรงัดแกะลงไปที่มุมเล็บ หรือตัดอย่างเช่นที่ร้านทำเล็บทำ เพราะจะทำให้ตัดเล็บม้วน เล็บขบ และเมื่องอกออกใหม่จะแทงเข้าไปในเนื้อ ทำให้อักเสบเป็นหนองได้อีกเช่นกัน

เล็บสีขาวขุ่น เป็นขุยเปราะง่าย เนื่องจากมีเชื้อราที่เล็บ
สังเกตุให้ดีจะเห็น ขนนิ้วเท้าเหลือน้อยมาก

การตัดเล็บ

  • – ตัดให้เสมอปลายนิ้ว เป็นเส้นตรง
  • – ควรตัดเล็บหลังทำความสะอาดเท้าทันที เพราะเล็บจะนิ่ม ตัดง่าย
  • – กรรไกรตัดเล็บและตะไบ ต้องสะอาดอยู่เสมอ ควรเช็ด Alcohol ก่อนใช้ทุกครั้ง
  • – ในกรณีเล็บขบ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง ไม่ควรพยายามตัดเอง เพราะอาจอักเสบกลายเป็นแผลเรื้อรังได้

เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียเท้า ควรหมั่นตรวจเท้าเช้า-เย็น โดยการดูทั้งหลังเท้า ง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้า ใช้กระจกช่วยส่องฝ่าเท้าถ้าไม่สามารถก้มส่องได้ อย่างน้อยเช้าและเย็น หลังอาบน้ำจะเป็นเวลาที่เหมาะ เตือนตนเองเสมอเมื่อส่องหน้าแล้วอย่าลืมส่องเท้าด้วย การทดสอบความรู้สึกของเท้าด้วยตนเองจะช่วยป้องกันการเกิดแผลที่เท้าซึ่งนำไปสู่การสูญเสียเท้า และรายงานความผิดปกติกับแพทย์ที่รักษาประจำถึงความผิดปกติ เพื่อแพทย์จะช่วยตรวจให้ละเอียดอีกขั้นตอนหนึ่ง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเท้าของผู้เป็นเบาหวานมีความรู้สึกผิดปกติหรือไม่

ไม่ยากเลยถ้าท่านทำตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ แต่ต้องใช้ส้นไนลอนพิเศษในการทดสอบ

ขั้นตอนการทดสอบความรู้สึกที่เท้าด้วยตนเอง

รูป…………

ใบรายงานผลการทดสอบความรู้สึกที่เท้าด้วยตนเอง

รูป…………

          ถ้าท่านไม่สามารถมองเห็นฝ่าเท้าของตนเองได้ดังรูป ก. ควรให้เพื่อนหรือญาติช่วยในการทดสอบ จุดที่ทดสอบฝ่าเท้าข้างละ 4 จุดดังรูป ก. โดยจับเส้นไนลอนทดสอบให้ตั้งฉากกับฝ่าเท้าดังรูป ข. กดน้ำหนักลงที่เส้นไนลอนให้เส้นงอโค้งเล็กน้อยดังรูป ค. และลงผลการทดสอบดังรูป ง. โดยใช้เครื่องหมาย Å ในจุดที่สามารถรู้สึกสัมผัสของเส้นไนลอน แล้วใช้ Θ ในจุดที่ไม่รู้สึกสัมผัส ถ้ามากกว่า 1 จุดท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในอนาคต ควรนำความผิดปกติที่ทดสอบได้ไปพบแพทย์ประจำของท่าน

การบริหารเท้า ในท่านั่ง

ท่าที่ 1 งอนิ้วสลับเหยียดนิ้วเท้า โดยไม่ยกส้นเท้า  10 ครั้ง

ท่าที่ 2 เกร็งส้นเท้าตั้งสลับกระดกปลายเท้าขึ้น 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 วาดปลายเท้าเป็นวงกลม โดยให้ส้นเท้าติดกับพื้น กระดกปลายเท้าสูงจากพื้น วาดทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกา อย่างละ 10  ครั้ง

ท่าที่ 4 หมุนส้นเท้าเป็นวงกลม โดยให้ปลายเท้าติดกับพื้น กระดกส้นเท้าสูงจากพื้น วาดทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกา อย่างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 5 ยกขา 2 ข้างสูงขนานกับพื้น นับ 1-10  เข่าเหยียดตรง เกร็งดึงปลายเท้าเข้าหาเข่า นับ 1-10 เหยียดปลายเท้าชี้ไปข้างหน้า นับ 1-10 วางขาลงพัก และ ทำซ้ำ 5 รอบ

ท่าที่ 6 ใช้นิ้วเท้าหนีบและฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นๆ และใช้เท้าทั้ง 2 ช่วยกันปั้นเป็นลูกบอล

ปิดความเห็น บน การดูแลเท้า 2