ความรู้ทั่วไป

การดูแลเท้า 1

โดย แพทย์หญิงจุลี จตุวรพัฒน์ – 2016-12-20 17:12:20 – หมวดความรู้ทั่วไป

เท้านั้น..สำคัญไฉน 

เท้ามีไว้..ยืน..เดิน..วิ่ง ที่สำคัญกว่านั้น เท้ามีความสำคัญต่อจิตใจว่าเราเป็นคนมีอวัยวะครบ 32 ประการ ถ้าหายไปสักข้างละก้อรู้สึกหดหู่ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากไปไหน

เกิดอะไรขึ้นกับเท้าบ้าง เมื่อเป็นเบาหวาน

“ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย ฉันยังมีเท้าเหมือนคนอื่นๆ รู้สึกเป็นปกติ เป็นแผลก็หายเร็ว”

“เอ..เท้าชามาได้ 2 เดือนแล้วค่ะ”

“แสบร้อนครับ เจ็บแปล๊บๆเหมือนเข็มตำ โดยเฉพาะเวลาเดิน และเป็นตอนนอน…เจ็บจนนอนไม่หลับเชียวล่ะครับ”

“เท้าบวมขึ้นมา 2 สัปดาห์แล้วค่ะ เท้าไม่เจ็บนะคะ แผลก็ไม่มีค่ะ”

“เป็นแผลมาเกือบปีแล้ว หายยากหายเย็น ไปพบมาหลายหมอแล้วจ้า”

          ค่ะเหล่านี้เป็นคำตอบที่หลากหลาย เมื่อถามคำถามนี้ในผู้เป็นเบาหวาน เพราะอาการทางเท้าจะไม่ประกฎจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานหลายๆปี บางรายเป็นเบาหวาน 10 ปี จึงมีอาการทางเท้า จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ สำรวจเท้าแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินเยียวยา และก่อนที่บางส่วนของเท้าต้องแยกจากขาไปเสียก่อน

          ผู้เป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหารน้อยกว่า 140 มก./ดล.  2 ชั่วโมงหลังอาหารน้อยกว่า 170 มก./ดล. และน้ำตาลเฉลี่ยน้อยกว่า 7% จะพบโรคแทรกซ้อนของเบาหวานได้น้อยมาก แต่ถ้าท่านควบคุมไม่ได้เกณฑ์ดังกล่าว ไปพบแพทย์เมื่อใดอย่าลืมควรให้แพทย์ตรวจเช็คดูโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานให้ด้วยค่ะ

สถิติการเกิดแผลที่เท้าพบว่า 50% พบในผู้เป็นเบาหวาน   20% ของผู้เป็นเบาหวานและมีแผลที่เท้ามักจะถูกตัด หลังจากถูกตัด 1 ปีแรก พบว่า 15% เกิดแผลใหม่กับเท้าข้างที่เหลือ จะถูกตัดเท้าข้างที่เหลือถึง 30% เมื่อติดตามครบ 3 ปีและมีอัตราตัดเพิ่มเป็น 50% และมีอัตราเสี่ยงต่อชีวิต 80% ในปีที่ 5 หลังจากถูกตัดเท้าข้างแรก

จะดูแลเท้าอย่าไรเพื่อไม่ให้ถูกแยกจากขา

  1. 1.สำรวจเท้าตนเองทุกวัน จะสำรวจด้วยตนเอง ให้คนในครอบครัวช่วยสำรวจให้ในกรณีที่ตามองไม่ชัด หรือ้วนจนก้มไม่ลง ตรวจดูว่ามีบาดแผล รอยถลอก ผื่นพุพอง ผิวเปลี่ยนสี บวม หรือไม่
  2. 2.ถ้าพบตาปลา หูด หรือตุ่มช้ำๆ ไม่ควรตัดหรือจี้ด้วยตนเอง เพราะอุปกรณ์อาจไม่สะอาดพอ พลาดพลั้งเกิดแผลได้อีก
  3. 3.การตัดเล็บ ดูแลเล็บ ควรตัดเล็บให้เสมอกับปลายนิ้ว ไม่งัดแซะมุมเล็บ เป็นร่อง หลุม
  4. 4.ไม่ควรแช่เท้าในน้ำนาน ไม่แช่เท้าในน้ำอุ่น น้ำร้อน
  5. 5.ให้ล้างเท้าด้วยสบู่อ่อนๆทุกวันๆละ 2 ครั้ง และซับให้แห้งโดยเฉพาะมุมเล็บ ทาด้วย moisture cream ที่มีส่วนผสมของ lanolin
  6. 6.ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ทั้งนอกและในบ้าน
  7. 7.เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับเท้า และสวมถุงเท้าผ้าฝ้ายนุ่มๆทุกครั้งที่สวมรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีของเท้า

ความผิดปกติของผิวหนังเท้า ในผู้เป็นเบาหวาน สีผิวเข้ม
ขนที่นิ้วร่วง ในรายนี้มาด้วยอาการเท้าบวม ไม่เจ็บ ไม่มีไข้

ตรวจพบจุดหนองที่ฝ่าเท้า ทะลุถึงหลังเท้า หลังเท้าจึงบวมและพบว่าหนองเซาะไปตามเส้นเอ็นถึงหน้าแข้ง
จึงต้องเปิดแผลตามเพื่อทำความสะอาดแผลล้างหนองออกทุกวัน

ใช้เวลารักษาแผล 4 เดือน

ปิดความเห็น บน การดูแลเท้า 1