ความรู้ทั่วไป

มหัศจรรย์…ทำไมส่วนโค้งเท้าหรือสะพานกระดูกถึงรับน้ำหนักได้ดี

ส่วนโค้งเท้านี้เกิดจาก...กระดูกแต่ละชิ้นมาประกบกันโดยมีเอ็นมายึดกระดูกเหล่านี้เข้าด้วยกันและมีกล้ามเนื้อเท้ามาช่วยดึงให้เกิดอุ้งเท้า

เด็กแรกเกิด…จะมองเห็นอุ้งเท้าไม่ชัด เนื่องจากมีไขมันชั้นใต้ผิวหนังมากและกล้ามเนื้อก็ยังไม่แข็งแรงร่วมกับเอ็นมีความยืดหยุ่นสูง จึงมองไม่เห็นอุ้งเท้า

เมื่อโตขึ้น…ไขมันชั้นใต้ผิวหนังลดลง มัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นจะมีกำลังดึงกระดูกให้มีส่วนโค้งชัดขึ้นร่วมกับเอ็นลดความการยืดหยุ่นลงแข็งแรงมากขึ้น เราจึงเห็นอุ้งเท้าได้ชัดเจน

 เท้าคนที่มีโค้งเท้าปกติเท่านั้นจะมีความมั่นคงสามารถรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้ดี โดยน้ำหนักที่กดลงมาจะถูกกระจายลงที่ทุ่นสะพาน2 ฝั่งในเท้าคือกระดูกส้นเท้าและกระดูกฝ่าเท้า ไม่ใช่ทุกคนจะมีโค้งเท้าปกตินะคะ

ความโค้งสูงของอุ้งเท้านี้จะไม่เท่ากันในแต่ละคนบางคนสูงมาก บางคนสูงน้อย บางคนแบนราบจนไม่เห็นเลย ความโค้งจะมากน้อยขึ้นกับพันธุ์กรรม อายุ ภาวะของร่างกายและความเจ็บป่วยของโรคเท้า ไม่แน่เสมอไปว่าโค้งเท้าที่สูงมากหรือต่ำมากจะทำให้ปัญหาเท้า

  ส่วนโค้งฝ่าเท้ามี 3 แบบ มาดูกันว่าของคุณมีการวางตัว แบบไหน ในนี้….

  • 1.Overpronation : เรียกว่าเท้าแบน เท้าล้ม จะมีอุ้งเท้าแบน (Flat arch) อาจมีโค้งของอุ้งเท้าน้อยหรือไม่มีเลย ทำให้มีลักษณะแบนราบ เมื่อส่วนโค้งหายไป น้ำหนักของลำตัวจะกดจะกดลงโดยตรงที่กระดูกเท้าและพังผืด เท้าจะสูญเสียความมั่นคงจากจากกล้ามเนื้อเท้าไม่แข็งแรง ทำให้เท้าแบนลง เกิดแนวแรงกระแทกเวลาเดินหรือลงน้ำหนักเปลี่ยนไป ไม่ตั้งฉากกับพื้นโลก ทำให้เส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆในเท้าเกิดแรงกระแทกที่ไม่สมดุลย์ส่งผลให้เกิดการอักเสบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมของเอ็นพยุงเท้า จะเกิดอาการเมื่อยใต้ฝ่าเท้า เมื่อยน่อง เดินได้ไม่นาน เอ็นร้อยหวายอักเสบ ปวดบริเวณกระดูกข้อเท้าด้านใน ปวดบริเวณเข่าด้านใน เจ็บส้นเท้าหรือฝ่าเท้า

        ผู้ที่ลงเท้าแบบเอียงบิดออก (กล้ามเนื้อดึงหงาย)  ต้องใช้รองเท้าที่มีการรองรับแรงกระแทกจำนวนมากเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระทบอย่างหนัก

  • 2. Neutral : เรียกว่าเท้าปกติ จะมีอุ้งเท้าปกติ (Normal arch) เป็นอุ้งเท้าที่สามารถพบได้มากที่สุด เป็นอุ้งที่มีส่วนเว้า ส่วนโค้งที่พอเหมาะจะมีพื้นที่ของฝ่าเท้าในการรองรับน้ำหนักกล้ามเนื้อเท้าจะมีความกระชับ แข็งแรง เป็นโช้คที่รองรับแรงกระแทกได้ดี     ทำให้มีความสมดุลในการลงน้ำหนักตัวได้ดี

                             ผู้ที่ลงเท้าในตำแหน่งปกติ  สามารถใส่รองเท้าได้หลากหลายแบบ

  • 3.Underpronation : จะเรียกว่าเป็นอุ้งเท้าสูง (High arch) เท้านี้จะมีความโค้งของอุ้งเท้ามากกว่าปกติ อุ้งเท้าเว้าลึกเกินครึ่งฝ่าเท้า เหลือพื้นที่รับน้ำหนักตัวแค่ 2 จุดเท่านั้นคือ ปลายเท้าและส้นเท้า ทำให้ฝ่าเท้าต้องรองรับน้ำหนักที่ไม่สมดุล เวลาเดินลงน้ำหนักจะเกิดแรงกระแทกค่อนข้างมากกว่าลักษณะเท้าแบบอื่น มีปัญหาข้อเท้าพลิกง่ายเนื่องจากกล้ามเนื้อเท้าจะตึงมา อาจเจ็บบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้า เจ็บส้นเท้า เจ็บอุ้งเท้า หรือข้อเท้าได้กลายเป็นรองช้ำ เจ็บตาปลา และอาจรวมไปถึงมีอาการปวดเข่าและสะโพกเวลาเดินหรือวิ่งนานๆ

             ผู้ที่ลงเท้าแบบบิดเข้าด้านในมาก  ควรมองหาส่วนรองรับหรือรองเท้าที่มีโครงสร้างที่มีการรองรับแรงกระแทก

ยุวดี     มหาชัยราชัน     พยาบาล

ทิ้งคำตอบไว้