
มหัศจรรย์เท้านี้ ที่อยากเล่า
ตอนเด็กๆเท้าของเราเล็กนิดเดียว เมื่อได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์การพัฒนาการของร่างกายเริ่มเปลี่ยนไปจนมีขนาดของเท้าใหญ่ขึ้นให้สัมพัทธ์กับร่างกาย เราก็ยังคงใช้แค่เท้า2ข้างนี้ ซึ่งมีพื้นที่ฝ่าเท้าแค่ 200 ตรซม.(กว้าง10ซม.xยาว20ซม.)โดยประมาณ แต่น้ำหนักของบางคนเกือบ 100 กก.ที่เท้าแต่ข้างต้องรับภาระกิจอันหนักหน่วงไปตลอดชีวิต ช่างเป็นอวัยวะที่อัศจรรย์จริงๆอะไรทำให้สามารถรับน้ำหนักได้มากขนาดนั้น
ครั้งนี้เรามาดูองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเท้าคู่นี้ขึ้นมา และเท้าทั้งสองข้างเรานี้ก็อาจมีขนาดที่ไม่เท่ากัน เรามาดูกันว่าโครงสร้างภายในมีอะไร….

1.กระดูก 26 ชิ้นใหญ่
เข้ามุมกันอย่างพอดีอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมคางหมูเมื่อใดที่กระดูกเท้าเหล่านั้นผิดรูปไปจะส่งผลให้กระดูกส่วนอื่นในร่างกายผิดรูปตามไปด้วย
2.ข้อต่อ 33 ข้อ
ช่องแคบๆระหว่างกระดูกจะมีข้อต่อเพื่อให้เท้าปรับตัวได้เวลาเดิน วิ่ง หรือ กระโดด

ข้อต่อเหล่านี้เรียงตัวเป็นส่วนโค้งของเท้ามีอยู่2แห่ง ส่วนโค้งตามยาวและส่วนโค้งตามขวาง ส่วนโค้งจะยุบลงเมื่อมีน้ำหนักกดทับและกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อไร้น้ำหนัก


3.เส้นเอ็น 107 เส้น
เป็นตัวช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า plantar fascia และ Achilles tendon หรือเรียกอีกอย่างว่า เอ็นร้อยหวาย เป็นเส้นเอ็นที่สำคัญมาก


4. กล้ามเนื้อ

ภายในฝ่าเท้ามีกล้ามเนื้อ 19 มัดและ มีกล้ามเนื้อที่เกาะมาจากขาท่อนล่างมาที่เท้า 13 มัด
5.เส้นเลือดและเส้นประสาท




6.ต่อมเหงื่อ มีมากถึง 250,000 ต่อม ต่อมเหงื่อเหล่านี้ขับถ่ายของเหลวมากถึง 0.284 ลิตรต่อวัน 1ใน 3 ของต่อมเหงื่ออยู่ที่ฝ่าเท้า



7.ชั้นไขมันที่เท้า

ทั้งหมดนี้ทำให้เราได้มีเท้าเป็นของตัวเอง มีนิ้วเท้า เล็บ หลังเท้าและหน้าเท้าหรือฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นเท้าที่อบอุ่นชุ่มชื้น อยู่กับขาเราได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข อาจทุกข์บ้างก็เล็กน้อย ทั้งนี้เพราะทุกโครงสร้างภายในเท้านี้คู่แข็งแรงทุกส่วนโดยเฉพาะระบบหลอดเลือดที่เป็นท่อลำเลียงและระบบประสาทที่เป็นตัวคอยคุ้มกันภัยให้เท้า



ยุวดี มหาชัยาราชัน พยาบาล

